โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก
(Low Carbon School Network)
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ในทุกภาคส่วน เนื่องจากอุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นมากกว่า 4 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 21 แต่อาจจะไม่เกิดขึ้นจริง หากเราสามารถควบคุมพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันได้
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฏชัดเจนขึ้น กระจายอยู่ทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง พายุฝนรุนแรง เกษตรกรเสียหาย การระบาดของโรคภัยต่างๆ สิ่งมีชีวิตไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ทำให้ตายลง และอาจสูญพันธ์ได้ในอนาคต จากปัญหาดังกล่าว ทำให้แต่ละประเทศทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และตระหนักถึงปัญหาอย่างจริงจัง มีการรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เกิดการประชุมและเจรจาในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกันในการช่วยแก้ปัญหา โดยแนวคิดหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันคือ การผลักดันในการลดการใช้พลังงาน สร้างสังคมคาร์บอนต่ำในทุกบริบทของสังคม ตั่งแต่หน่วยงานย่อยของสังคมอย่างครอบครัว โรงเรียน ชุมชน เมืองและประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้รับความสนใจในหลายภาคส่วน เกิดการรณรงค์และเคลื่อนไหวเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม ดังเช่นโครงการรณรงค์ปิดไฟ 1 ชั่วโมงให้โลกพัก หรือ โครงการ Earth Hour ที่เชิญชวนให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนผ่านสัญลักษณ์การปิดไฟ 1 ชั่วโมง และกระตุ้นให้ทุกคนแสดงเจตนารมณ์ว่าจะทำสิ่งที่มากกว่าการปิดไฟเพียงหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2555 กรุงเทพมหานคร WWF ประเทศไทย และมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับภาคธุรกิจอีกหลายองค์กร ยังคงดำเนินโครงการต่อเนื่อง “โรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก หรือ Low Carbon School Network” ขึ้น จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินงานมาแล้วเป็นเวลา 3 ปี โดยมุ่งหวังที่จะให้โครงการดังกล่าวถ่ายทอดแนวคิด และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้กับนักเรียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า และลดปริมาณรอยเท้าคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน
ในปี 2555 ได้ดำเนินโครงการในโรงเรียนนำร่องทั้ง 16 แห่ง ใน 6 เขตโซนของกรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นปี 2556 – 2557 ได้ขยายผลสู่โรงเรียนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และปทุมธานี จำนวน 21 โรงเรียน โดยโครงการฯ ได้ประยุกต์กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยแนวทาง “การใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy)” เป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกต่อการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำภายในโรงเรียน อนึ่งเป้าหมายตามแผนระยะยาว 5 ปี มุ่งหวังที่จะขยายแนวคิดของการลดรอยเท้าคาร์บอน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโลกร้อน รอยเท้าคาร์บอน และการประหยัดพลังงาน ไปยังโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดอื่นๆ เช่น ปทุมธานี เชียงใหม่ นครราชสีมา อยุธยา และฉะเชิงเทรา เป็นต้น รวมถึงการนำแนวคิดของ Smart Energy เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยคาดว่าตลอดระยะเวลาในการดำเนินงานจะมีนักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ในโครงการนี้จำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน
เรายังคงมุ่งขยายแนวคิดการลดรอยเท้าคาร์บอน เพื่อเข้าสู่โครงการในปีที่สี่ตามกลุ่มเป้าหมายของแผนระยะยาว 5 ปี โดยในปีนี้จะขยายไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมๆ กับการสร้างเครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำให้กว้างมากยิ่งขึ้น และจะถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวสู่เยาวชนด้วย 2 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในสังคม (Carbon Minimization) 2) การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวันด้วยวิธีง่าย (Simpler and Richer) 3) การลดผลกระทบและปรับตัวพร้อมรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Co-Existing with nature) ซึ่งจะประยุกต์กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยแนวทาง “การใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy)” อันจะเป็นกลยุทธ์สำคัญ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกต่อการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำภายในโรงเรียน มากไปกว่านั้นเยาวชนเหล่านี้ยังสามารถเป็นแรงเสริมที่จะช่วยขยายแนวคิดจากจุดเล็กๆ ในโรงเรียนไปสู่สังคมของตนเองและครอบครัวต่อไป
นอกจากนี้ในปีนี้ยังจะได้นำคู่มือ Smart Energy และ Carbon Footprint ทดลองใช้ในสถานศึกษา เพื่อเตรียมการเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยจะเริ่มดำเนินงานกับบางโรงเรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็กของปีที่ผ่านมา
โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก (Low Carbon School Network)
กิจกรรมต่อเนื่องของ Earth Hour 2015
ระยะเวลา เดือนเมษายน 2558 – เดือนมีนาคม 2559
แนวคิดหลัก กิจกรรมโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก: โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก เป็นโครงการที่มุ่งหวังถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ร่วมโครงการทุกคน ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการลดรอยเท้าเชิงนิเวศ (Ecological Footprint) ที่แต่ละคนได้กระทำต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในเมืองใหญ่ โครงการนี้มุ่งหวังถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบุคคลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นการเริ่มต้นที่ตนเอง สามารถกระทำได้ทันที และปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับโลก และหากนักเรียนคนๆ หนึ่งสามารถกระทำได้ เมื่อรวมกับเพื่อนนักเรียนในห้อง ต่อยอดไปถึงเพื่อนนักเรียนทั้งระดับชั้น จะสามารถเปลี่ยนจากพลังเล็กๆ ของคนคนหนึ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ขยายใหญ่ขึ้น เป็นระดับโรงเรียน ระดับเขต นำไปสู่การขยายผลต่อเนื่องไปถึงระดับจังหวัด และระดับประเทศในที่สุด
ความคิดรวบยอดของหลักสูตรในโครงการ: โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก ปีที่ 4 ยังคงใช้กระบวนการและวัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่กระบวนการสร้างความตระหนัก (Awareness) การให้ความรู้ (Knowledge) เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) นักเรียนเป้าหมายจะได้รับการพัฒนาทักษะ (Skill) และนำไปสู่การมีส่วนร่วม (Participation) ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อลดรอยเท้า
อย่างไรก็ตามในการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ มีพื้นฐานการดำเนินการจากการเรียนรู้แบบลักษณะการทำโครงการ (Project Base Learning) มุ่งหวังให้นักเรียนเป้าหมายได้มีโอกาสในการสำรวจ ค้นหา และวิเคราะห์ปัญหา ถึงผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมจนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่มีมากยิ่งขึ้น นักเรียนจะได้ช่วยกัน พิจารณาทางเลือกในสิ่งที่ตนเองสามารถช่วยกันหรือปฏิบัติได้จริง จนนำไปสู่ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริง เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดโครงการ จะใช้สอดแทรกแนวคิดและนำเสนอวิธีปฏิบัติตามแนวทางของ “การใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy)” ประกอบไปด้วย
- Renewable Energy :หน่วยการเรียนรู้ พลังงานทางเลือก
- Energy Efficiency: หน่วยการเรียนรู้ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
- Shifting the Energy Paradigm: หน่วยการเรียนรู้ การปรับแนวคิดด้านการใช้พลังงาน
- Carbon Capture and Storage :หน่วยการเรียนรู้ ปฏิบัติการลดคาร์บอน
โดย Theme จะเข้มข้นมากในเรื่อง หน่วยการเรียนรู้ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน และหน่วยงานเรียนรู้ การปรับแนวคิดด้านในการพลังงาน เพราะนักเรียนสามารถนาปรับใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้การดำเนินงานในปีที่ 4 จะมีการนำ “ คู่มือสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ” เข้าสู่การเรียนรู้ในโรงเรียน โดยดำเนินงานใช้กับบางโรงเรียนที่ได้เคยเข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาเตรียมการในการจัดเป็นสาระท้องถิ่นเกี่ยวกับโลกร้อนและพลังงานในโรงเรียนต่อไป
เป้าหมาย (ตามแผน 5 ปี)
– แนวคิดของการลดรอยเท้าคาร์บอน และการประหยัดพลังงานถูกถ่ายทอดไปยังโรงเรียนตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงการนำแนวคิดของ Smart Energy เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ โครงการปีที่ 4
- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน
- ผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิด Smart Energy เพื่อนำไปสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ
- สร้างเครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดเชียงใหม่
- เพื่อนำแนวคิด Smart Energy และ Carbon Footprint เข้าสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน ผ่านการใช้คู่มือสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ
กลุ่มเป้าหมาย
โรงเรียนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 โรงเรียน (ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น)
โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานี จำนวน 7 โรงเรียน
- คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนจากกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานี ที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้ว 7 โรงเรียน รวมทั้งหมด 17 โรงเรียน
- คัดผู้แทนนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม Smart Energy Camp (สำหรับนักเรียน) จำนวน 2 ครั้ง ระยะเวลา 4 วัน 3 คืน โดยมีเนื้อหาของค่ายครอบคลุม 4 ประเด็นหลักของ Smart Energy และมีกิจกรรมศึกษาดูงาน เรียนรู้เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่มีการจัดกิจกรรม
- จัดกิจกรรม workshop และจัดศึกษาดูงานเรียนรู้เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับคณะครู 10 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนละ 2 คน รวม 20 คน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการพลังงาน รวมถึงสามารถช่วยเหลือสนับสนุนนักเรียนของตนเองอย่างถูกต้อง
- ผู้แทนนักเรียนและคณะครูจากจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมขยายแนวคิด Smart Energy แผนประหยัดพลังงาน และหรือกิจกรรมการลดรอยเท้าคาร์บอนสู่เพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนทั้งระดับชั้นของแต่ละโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน เพื่อทำการลดค่า Carbon Footprint ของตนเอง และส่งเข้าประกวดกับโครงการ (โครงการฯ สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมรณรงค์ หรือโครงงานลดโลกร้อน)
- ติดตามประเมินผลกิจกรรมขยายแนวคิด Smart Energy แผนประหยัดพลังงาน และหรือกิจกรรมการลดรอยเท้าคาร์บอน ทั้งในส่วนการประเมินพฤติกรรมของนักเรียน และติดตามความก้าวหน้าในการดาเนินโครงการ ด้วยการสัมภาษณ์ นักเรียนทั้ง 17 โรงเรียน เป็นระยะ
- วางแผนร่วมกับครูจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานี ในการสร้างคู่มือสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ ไปใช้เสริมการเรียนการสอนในโรงเรียน และร่วมจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนร่วมกับคุณครู
- Workshop แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างโรงเรียนต้นแบบ และจัดพิธีมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณโรงเรียนที่ดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายของแผนประหยัดพลังงานในโรงเรียนต่างๆ โดยการจัดทำ Energy Corner ไว้ในโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก (จังหวัดเชียงใหม่)
- ตัวแทนนักเรียนต่างๆ เข้าร่วมงาน Earth Hour 2015 พร้อมมีการจัดนิทรรศการประกอบ
- กิจกรรม press trip เยี่ยมชมโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ ผลโครงการฯ ในงาน Earth Hour 2015
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจปัญหาภาวะโลกร้อน
- นักเรียนเป้าหมายมีพฤติกรรมเชิงบวกในการการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy) จนนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำในโรงเรียน
- เครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำระหว่างโรงเรียนเป้าหมายในจังหวัดเชียงใหม่ ปทุมธานี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
- เครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำเตรียมพร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ตามสาระท้องถิ่นเกี่ยวกับโลกร้อนและพลังงานในโรงเรียนต่อไป
รายชี่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ LCSN 4th Year Program เชียงใหม่ | ||||||
โรงเรียน | ระดับชั้น | สังกัด | จังหวัด | นักเรียนทั้งหมด | จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (Outreach) |
จำนวนนักเรียน ที่เข้าค่าย (Camp) |
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ | ประถมศึกษาปีที่ 5 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 2,433 | 330 | 8 |
โรงเรียนพุทธิโศภน | ประถมศึกษาปีที่ 5 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 1,133 | 235 | 8 |
โรงเรียนบ้านสันกำแพง | ประถมศึกษาปีที่ 5 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 1,662 | 178 | 6 |
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ | ประถมศึกษาปีที่ 5 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 110 | 40 | 6 |
โรงเรียนวัดห้วยแก้ว | ประถมศึกษาปีที่ 5 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 222 | 78 | 6 |
โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 389 | 80 | 8 |
โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 158 | 60 | 6 |
โรงเรียนชลประทานผาแตก | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 424 | 85 | 6 |
โรงเรียนบ้านแม่ปูคา | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 254 | 60 | 6 |
โรงเรียนวัดห้วยทราย | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 | เชียงใหม่ | 279 | 78 | 6 |
ตัวอย่างภาพกิจกรรมโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก ปีที่4 เชียงใหม่
ค่ายอบอรมครูทั้งหมด 10 โรงเรียน | กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการตามโรงเรียนต่างๆ | |
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) – FEEDหน่วยงานที่รับผิดชอบ
องค์กรที่ปรึกษา
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร